การติดตั้งบำรุงรักษาปั๊มน้ำหอยโข่ง

 การติดตั้งและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ Ebara

 

การวางแผนการติดตั้ง

1. ระยะดูด
             ระยะดูด ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและชนิดของปั๊ม อุณหภูมิของของเหลวและสภาพของท่อ เมื่อมีแผนการติดตั้งปั๊มควรพิจารณาหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้

  1. อุณภูมิปกติ, น้ำจืด
    ระยะดูดจากระดับน้ำในแหล่งสูบถึงกึ่งกลางปั๊มไม่เกิน 6 ม.

     
  2. อุณภูมิน้ำสูงกว่าปกติ

    อุณหภูมิน้ำ ระยะดูด  
    20°C -6 ม. ขีดจำกัดเมื่อปั๊มสูงกว่าระดับน้ำ
    40°C -5 ม.
    60°C -3 ม.
    70°C -2 ม.

    ขีดจำกัดในกรณีที่
    (ระดับของเหลวต้องอยู่สูงกว่าปั๊ม)

    80°C 0 ม.
    100°C +7 ม.



  3. ท่อดูดยาว
    ท่อดูดยาวจะทำให้ระยะดูดลดลง เนื่องจากความฝืดในท่อจะสูง

     
  4. การสูบของเหลวที่เป็นไอได้
    เคมีภัณฑ์และน้ำมันจากถ่านหินกลายเป็นไอระเหยได้ง่ายมาก เมื่อทำการสูบจะต้องให้ของเหลวอยู่สูงกว่าปั๊ม
    ขอแนะนำให้เลือกใช้ปั๊มและอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้กับของเหลวชนิดนั้นๆ ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากบริษัทผู้ผลิตปั๊ม


     

2. สถานที่ติดตั้ง

  1. ติดตั้งปั๊มในที่แห้ง
       การติดตั้งปั๊มในที่ที่มีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้แบริงเป็นสนิมได้ง่ายและค่าความต้านทานของฉนวนของมอเตอร์สั้นลง
    ดังนั้นจึงควรติดตั้งปั๊มในที่ที่แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและไม่ร้อน


     
  2. อุณหภูมิต่ำกว่า  100°C
       เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูง การระบายอากาศรอบๆ มอเตอร์ไม่ดี อุณหภูมิของมอเตอร์สูงและความต้านทานฉนวนของมอเตอร์ลดลงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้
    ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มในพื้นที่ที่ มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวกและควรห่างไกลจากความร้อน เช่นจากหม้อน้ำ
     
  3. ควรติดตั้งที่ที่มีพื้นที่กว้างพอสำหรับการถอดปั๊มเพื่อตรวจสอบ
       พื้นที่คับแคบทำให้การถอดและการตรวจเช็คปั๊มลำบาก จะทำให้เกิดความล่าช้าเสียเวลาและจะเกิดการเบื่อหน่าย
    ซึ่งอาจทำให้เกิดการละเลยเว้นการตรวจบำรุงประจำปี อันมีผลให้อายุของปั๊มสั้นลง
    ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่าสถานที่รอบๆปั๊มรวมถึงข้างบนเหนือปั๊มต้องกว้างพอสำหรับการตรวจสอบบำรุงรักษา

     
  4. การติดตั้งภายในร่ม
       
    มอเตอร์สำหรับงานปั๊มทั่วๆไปโดยปกติแล้วจะออกแบบสำหรับการใช้งานในร่ม ถ้าจำเป็นต้องใช้งานกลางแจ้ง จำเป็นจะต้องมีที่บังกันฝนให้
    และที่กำบังต้องใหญ่พอเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความร้อนที่แผ่ออกจากมอเตอร์เอง
    ถ้าเอามอเตอร์ไปใช้กลางแจ้งโดยไม่มีที่กำบังค่าความต้านทานของฉนวนของขดลวดจะเสียหาย จะเป็นสนิมภายใน และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุอื่นๆได้

  5. ฐานรองปั๊มต้องดูดซับกันสั่นสะเทือนได้
       
    และควรใช้ข้อต่อเพลาชนิดหยุ่นตัวได้  การใช้ฐานหรือแท่นปั๊มรองรับจะทำให้อาการสะเทือนถ่ายทอดไปสู่พื้นหรืออาคคารน้อยลง
    เมื่อจะเลือกใช้ฐานรองปั๊มชนิดดูดซับความสั่นสะเทือน ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง และควรใช้แพคกิ้งยางรองรับจุดสำคัญๆ ด้วย

 

 3. ท่อดูด
      การติดตั้งท่อดูดไม่ถูกต้องอาจทำให้ดูดน้ำไม่ขึ้น จึงต้องระวังในหัวข้อต่อไปนี้

  1. ท่อดูดต้องสั้นที่สุดและให้มีความคดหรือข้องอน้อยที่สุด
       ถ้าท่อดูดยาวหรือมีข้องอหรือคดมาก ความต้านทานในท่ออาจมากกว่าความสามารถของปั๊มได้ ดังนั้นท่อควรสั้นที่สุดและมีข้องอให้น้อยที่สุด
    อีกประการหนึ่งยิ่งมีข้อต่อข้องอมาก โอกาสที่อากาศรั่วจะยิ่งมีมากขึ้น

     
  2. จะต้องแน่ใจว่าท่อดูดจะไม่มีส่วนโค้งขึ้นจนเกินกะเปาะอากาศ
       กะเปาะอากาศในส่วนโค้งขึ้นของท่อ จะทำให้น้ำไหลไม่เต็มท่อ และปั๊มไม่อาจทำงานได้
     
  3. การติดตั้งควรคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการรือท่อดูดด้วย
       หากปั๊มไม่ทำงาน สาเหตุหนึ่งก็คือ ฟุตวาล์วรั่ว ก็จำเป็นต้องถอดท่อดูดขึ้นมาตรวจเช็ค ถ้ามีพื้นที่กว้างพอการทำงานก็จะสะดวก
    ดังนั้นเมื่อจะทำการติดตั้งปั๊มน้ำ ควรวางแผนเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับตรวจเช็คท่อดูดด้วย
Visitors: 232,498